ดูแลผิวลูกน้อยเบื้องต้น เมื่อถูกแมลงวัตว์กัดต่อย

13089 Views  | 

 ดูแลผิวลูกน้อยเบื้องต้น เมื่อถูกแมลงวัตว์กัดต่อย

แมลงสัตว์กัดต่อย ตุ่มบวมแดงตามผิวลูกน้อยที่ฝากความปวดแสบปวดร้อนไว้ให้ถือเป็นปัญหาที่ทั้งแม่ลูกต้องเจอ และหาวิธีป้องกันรักษากันทุกยุคทุกสมัย ซึ่งเจ้าแมลงตัวร้ายเอง ก็มักจะมาแบบที่เราไม่ทันได้ตั้งตัว โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ลูกกำลังนอนหลับ เล่นสนุก หรือช่วงเวลาที่ออกไปท่องเที่ยว มีความสุขอยู่ นอกจากความหูไวตาไหวของพ่อแม่เองแล้ว การทราบวิธีดูแลผิวลูกน้อยเบื้องต้นหากโดยแมลงสัตว์กัดต่อยก็จำเป็น หากลูกน้อยโดนแมลงสัตว์กัดต่อยเข้าให้แล้วควรทำอย่างไร? เราเลือก 3 วิธีเบื้องต้นที่ควรทำมาฝากกันค่ะ

ล้างบริเวณที่เป็นแผลด้วยน้ำสะอาดก่อนอันดับแรก
พาลูกน้อยไปในที่ที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกต้องโดนกัดซ้ำสอง ล้างบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บด้วยน้ำสะอาด และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่อ่อนโยน ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ล้างทำความสะอาดต้องอ่อนโยน ลดการระคายเคืองได้อย่าง Baby sebamed Baby Bubble Bath pH 5.5 และควรรักษาความสะอาดบริเวณนั้น ๆ อย่างสม่ำเสมอ


หาก่อน แมลงประเภทไหนที่เป็นต้นเหตุ
เพราะลักษณะของแผล พิษของแมลงแต่ละชนิดมีความรุนแรงแตกต่างกัน หากเราทราบแน่ชัดแล้วว่าเป็นสัตว์ประเภทไหน จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ประเมินสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ว่าควรพาลูกไปพบแพทย์ดี หรือสามารถดูแลรักษาให้หายได้เอง ลักษณะของบาดแผลของแมลงสัตว์ที่เจอกันส่วนใหญ่จะมาจากสัตว์ 3 ประเภท ดังนี้

มด ยุง : โอกาสเจอบ่อย ๆ มีสูงมาก ถือเป็นแมลงที่มีพิษน้อยมากสามารถหายได้ด้วยตัวเอง แต่ทันทีที่โดนกัดจะมีอาการบวมแดงทันที มักมีอาการแสบคันร่วมด้วย แต่ระดับความรุนแรงของแผลขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

เห็บ หมัด ริ้น ไร เรือด : ลักษณะจะคล้ายกับมดยุงกัด มีจุดแดง ๆ อาการคัน ปวดแสบปวดร้อนจะมีความรุนแรงกว่ามาก เบื้องต้นให้ใช้แอลกอฮอล์ล้างแผลชุบสำลีเช็ดบริเวณรอบแผล หลังจากล้างแผลด้วยน้ำสะอาดและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว

ผึ้ง ต่อ : หากโดนแมลงประเภทนี้ต่อยต้องรีบเอาเหล็กในออกเร็วที่สุดก่อน แล้วจึงล้างทำความสะอาดแผล ผิวจะมีอาการบวมแดง ปวดแสบปวดร้อนมากให้นำน้ำแข็งมาประคบบริเวณที่โดนต่อย 2 – 3 นาที คอยสังเกตอาการลูกน้อยตลอดเวลา ว่าลูกน้อยมีอาการแพ้พิษหรือไม่ หากลูกเริ่มมีไข้ คลื่นไส้ หายใจติดขัด หรือผิวบวมแดงผิดปกติควรรีบพบแพทย์ด่วน

ไม่ว่าจะถูกแมลงชนิดไหนกัดมา หลังจากทำความสะอาดแผลเสร็จ คุณแม่เองต้องหมั่นรักษาความสะอาดอยู่เสมอโดยเฉพาะบริเวณที่บาดเจ็บ และเล็บของลูกน้อยที่อาจจะทำให้แผลเปิดรุนแรงกว่าเดิม

กรณีไหน? ถึงควรพบแพทย์
ในสายตาผู้ใหญ่ อาจมองว่าแมลงสัตว์กัดต่อยเป็นเรื่องปกติ แต่เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าร่างกายของลูกน้อยเอง อ่อนแอ ง่ายแต่การแพ้พิษต่าง ๆ มากแค่ไหน ควรติดตามอาการตลอดเวลา หากบริเวณที่บาดเจ็บมีอาการบวมแดง ไม่หายภายใน 3 – 5 วัน มีอาการผิดปกติอื่น ๆ เพิ่มขึ้นหลังจากถูกแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น

  • เป็นไข้ คลื่นไส้ อาเจียน
  • หายใจติดขัด หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ
  • กล้ามเนื้อหดเกร็ง
  • มีอาการแพ้บวมที่บริเวณอื่น ๆ นอกจากบาดแผล เช่น เปลือกตา ริมฝีปาก คอ
  • ลมพิษขึ้น

คือสัญญาณของอาการแพ้พิษแมลง ควรพบแพทย์โดยด่วน เพราะอันตรายถึงชีวิตได้ นอกจากนี้หากลูกน้อยโดนมาแมลงที่มีพิษแน่นอน เช่น ผึ้ง ต่อ กัดต่อยเกิน 4 – 5 จุด ให้พบแพทย์ทันที เพราะอาจจะได้รับพิษที่รุนแรงจนเกิดปัญหาแทรกซ้อนได้ อันตรายถึงชีวิตเช่นกันค่ะ


ปัญหาที่ไม่คาดคิดอย่างเรื่องแมลงสัตว์กัดต่อย เชื่อว่าร้อยทั้งร้อยไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นค่ะ การดูแล ขยันทำความสะอาดสถานที่ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ลูกต้องใช้ชีวิตอยู่กับมันประจำจึงเป็นเรื่องสำคัญ ต้องเช็กให้ดี ไม่ว่าจะประตู หน้าต่างควรจะปิดมิดชิด ป้องกันแมลงเจ้าปัญหาเข้ามากวนใจลูกน้อย หากต้องพาลูกออกนอกบ้าน หรือเวลานอนควรใส่เสื้อผ้าปิดแขนขาให้ดี นอกจากนี้การดูแลผิวให้แข็งแรง ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนช่วยในการป้องกัน – ลดการระคายเคืองอย่าง Baby sebamed pH 5.5 ถือเป็นอีก 1 วิธีสำคัญที่ลดอาการคัน บาดเจ็บของลูกน้อยไปได้ไม่น้อยเลยค่ะ

Powered by MakeWebEasy.com